ผงปถมัง- ผงอิธิเจ- ผงมหาราช- ผงพุทธคุณ และ
ผงตรีนิสิงเห ของครูอาจารย์แต่เดิมท่านทำไว้ โดยจากตำหรับตำราและหนังสือที่สามารถอ้างอิงถึงได้ จากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชีวิตในสังคมไทยโบราณไว้หลายประการ
ผู้ฝึกฝนวิชานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจิตใจตั้งมั่น อีกทั้งยังต้องใช้ความอดทนเป็นที่สุด
เพราะการปลุกเสกผงแต่ละครั้งแต่ละคราต้องตั้งมั่นกระทำแบบตอกย้ำซ้ำๆอย่างต่อเนื่องเป็นประจำตลอดเวลาเป็นนิจ
จากหนังสือที่สามารถอ้างอิงถึงดังปรากฏเรื่องในเสภาว่าเมื่อครั้งที่ขุนแผนไปเรียนวิชาอยู่กับ”พระอาจารย์คง
วัดแค”นั้นท่านได้สอนทั้งวิชาอยู่ยงคงกระพัน การผูกหุ่นพยนต์ และการทำผง
อ.เขียว เทพทอง
ท่านได้ปรารภให้ผู้เขียนได้ฟังว่า ผงวิเศษทั้งห้านี้นั้นมิได้เกิดจากสะสารใดสะสารหนึ่ง
แต่เกิดจากธุลีของมวลสารแต่ละชนิด ซึ่งต้องผ่านพิธีกรรมตามขั้นตอนโดยแยบยลตั้งแต่เริ่มจนจบพิธีการ
ผงพุทธคุณเกิดจากการใช้สารวัตถุอันเป็นมงคล รวมถึงการกำกับพระสูตรในการท่องบ่นภาวนาและลบเพื่อให้ได้ผงพุทธคุณ โดยในแต่ละผงวิเศษนั้นจะมีพุทธคุณที่แตกต่างกัน
แต่ผงทั้งหมดสามารถที่จะนำเอาไปคลุกรวมกันเพื่อใช้ให้เกิดพระพุทธคุณมีพุทธาณุภาพสุดคณานับ
พระอนุตตโร (เจ้าอาวาสวัดศรีจันต์) กล่าวว่า
วัดศรีจันต์มีชื่อเสียงในเรื่องของผงปถมังมายาวนานกว่า7ทศวรรตและเชื่อได้ว่าเป็นต้นตำรับของผงปถมัง
กระทั่งเป็นที่กล่าวขานกันทั่วในวงการผงที่นำไปผสมมวลสารจัดสร้างวัตถุมงคล
ที่ผ่านมาหลายวัดที่จัดสร้างพระเนื้อผงเพื่อนำไปเป็นวัตถุมงคล ได้จัดสร้างโดยนำเอามวลสารจากวัดศรีจันต์ไปสร้างกระทั่งเป็นที่กล่าวขาน
คุณสมบัติพิเศษของผงปถมังของวัดศรีจันต์นั้น
จากประสบการณ์ที่ได้เห็นมากระทั่งสามารถเก็บเป็นข้อมูลสรุปได้อย่างสนิทใจว่า
พระเนื้อผงที่ผสมผงปถมังของวัดศรีจันต์ เมื่อได้จัดสร้างไปจากวัดนั้น
กล่าวได้ว่าวัตถุมงคลที่นำมวลสารผงปถมังนั้น ไม่ต้องผ่านการทำพิธีปลุกเสกก็เป็นได้
หลายพิธีกรรมที่ได้จัดสร้างขึ้นและผ่านพิธีกรรมตามความเชื่อความศรัทธาที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นมีอันจะต้องนำเอาวัตถุมงคลที่ได้รับไปนั้นมาคืนให้ทางวัดรักษาไว้แทน
แต่หากเป็นวัตถุมงคลที่ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นเองนั้นทางวัดจัดสร้างขึ้นโดยไม่ผ่านพิธีปลุกเสกแต่อย่างใด
โดยหลังจากที่จัดสร้างเสร็จดรียบร้อยตามขั้นตอนของทางวัดศรีจันต์
วัตถุมงคลที่ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นนั้น
เป็นเรื่องที่อัศจรรย์มากเพราะญาติโยมที่ได้นำเอาไปบูชาต่างกล่าวออกมาเป็นเสียงเดียวว่ามีพุทธคุณเป็นสามารถอย่างอัศจรรย์ด้านเมตตามหานิยมนั้นเชื่อได้อย่างสนิทใจว่าไม่เป็นสองรองใคร
พิธีกรรมนั้นแต่เดิมพระภิกษุสงฆ์จะเป็นผู้ทำพิธีในพระอุโบสถ
โดย ตระเตรียมเครื่องสักการะหน้าพระประธาน กล่าวคาถาอัญเชิญพระพทุธคุณ พระธรรมคุณ
พระสังฆคุณ กล่าวอัญเชิญเทพยดา ครูบาอาจารย์ เพื่อเสกน้ำมนต์พรมตัวให้บริสุทธิ์
ก่อน เรียกอักขระเข้าตัว จากนั้นจึงเริ่มทำพิธีเขียนผงพุทธคุณต่างๆ
โดยจะมีการกำหนดวันเวลาว่าวันใดเวลาใดจะทำผงพุทธคุณชนิดใดเพื่อให้เกิดพุทธคุณที่เป็นที่สุด
ผงปถมัง เป็นผงเริ่มต้น นำดินสอผงวิเศษมาเขียนสูตร และลบออก เป็นผงปถมังมีอานุภาพ
หลายด้าน แต่หนักไปทาง คงกรพันชาตรี-มหาอุด แคล้วคลาด
กำบังล่องหนและป้องกันภูตผีปีศาจและคุณไสย
ผงอิธิเจ นำผงปถมังมาปั้นเป็นดินสอ
แล้วเขียนสูตร ลบผงเป็นผงอธิเจ
มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่างสูงรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ผงมหาราช นำผงอธิเจ มาปั้นเป็นดินสอ
แล้วเขียนสูตร ลบผง เป็นผงมหาราช มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่าสูงป้องกัน
และถอนคุณไสย และแคล้วคลาด
ผงพุทธคุณ นำผงมหาราช มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร
ลบผงเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ ให้อานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่างสูง กำบัง สะเดาะ
และล่องหน
ผงตรีนิสิงเห นำผงมหาราช มาปั้นเป็นดินสอ
แล้วเขียนสูตรลบผงเกี่ยวกับยันตร์ตรีนิสิงเหหรือยันตร์นารายณ์ถอดรูป
แล้วมียันต์พระควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ อานุภาพด้าน
เมตตามหานิยมป้องกันถอนคุณไสย และภูตผี ป้องกันสัตว์เขี้ยวเล็บงา รักษาโรคอุบัติภัยอันตรายทั้งปวง
ในสมัยโบราณนิยมนำผงปถมังมาผสมทำพระเครื่องราง พระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายสำนักก็สร้างขึ้นโดยมีส่วนผสมของผงชนิดนี้
หรือนำผงไปผสมหมึกสำหรับสักยันต์บนกระหม่อมโดยเชื่อว่ามีพุทธคุณตามที่กล่าวมาข้างต้น
อ.เขียว กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่19 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ได้เข้าไปร่วมงานบุญที่วัดศรีจันต์ จ.สุพรรณบุรี พระอธิการอนพัทย์ อนุตตโร (เจ้าอาวาสวัดศรีจันต์)
ซึ่งวัดนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นเหมือนต้นตำหรับผงปถมังและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
ถือเป็นบุญท่านทราบว่าอาจารย์มีความรู้และเชี่ยวชาญในผงปถมัง
จึงได้เมตตามอบผงปถมังให้เพื่อนำเอาไปเป็นมวลสารในวัตถุมงคลรวมกับของอาจารย์ที่มีแล้วอีกส่วนหนึ่ง
โดยทางสำนักกำลังจะจัดทำขึ้นจำหน่ายแจกจ่ายให้กับศิษย์ภายในปีหน้าและได้หารือกับทางวัดเรียบร้อยโดยทางวัดศรีจันท์หลังทราบเจตนาในการจัดสร้างจึงอณุญาติ
และจะให้ความร่วมมือโดยนำเอามวลสารที่ทางวัดได้เก็บรักษาไว้จำนวนหนึ่งพร้อมให้ใช้สถานที่จัดสร้างวัตถุมงคล
โดยจะ อ.เขียวกำหนดหาฤกษ์ยามจัดสร้างต่อไป
อ.เขียว กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่19 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ได้เข้าไปร่วมงานบุญที่วัดศรีจันต์ จ.สุพรรณบุรี พระอธิการอนพัทย์ อนุตตโร (เจ้าอาวาสวัดศรีจันต์)
ซึ่งวัดนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นเหมือนต้นตำหรับผงปถมังและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
ถือเป็นบุญท่านทราบว่าอาจารย์มีความรู้และเชี่ยวชาญในผงปถมัง
จึงได้เมตตามอบผงปถมังให้เพื่อนำเอาไปเป็นมวลสารในวัตถุมงคลรวมกับของอาจารย์ที่มีแล้วอีกส่วนหนึ่ง
โดยทางสำนักกำลังจะจัดทำขึ้นจำหน่ายแจกจ่ายให้กับศิษย์ภายในปีหน้าและได้หารือกับทางวัดเรียบร้อยโดยทางวัดศรีจันท์หลังทราบเจตนาในการจัดสร้างจึงอณุญาติ
และจะให้ความร่วมมือโดยนำเอามวลสารที่ทางวัดได้เก็บรักษาไว้จำนวนหนึ่งพร้อมให้ใช้สถานที่จัดสร้างวัตถุมงคล
โดยจะ อ.เขียวกำหนดหาฤกษ์ยามจัดสร้างต่อไป
กระทั่งวันมหาสงกรานต์
13 เม.ย.58 พระอนุตตโร เจ้าอาวาสวัดศรีจันต์ อ.เขียว
เทพทอง -อ.ป้อม เข็มทอง
พร้อมคณะร่วมทำพิธีกดพิมพ์พระสมเด็จและพระขุนแผนเนื้อผงผสมมวลสาร”ผงปถมัง”วัดศรีจันต์(อันเลื่องชื่อ)ว่าเป็นมวลสารผงที่สุดยอดแห่งผงเมตตาโดยให้ชื่อรุ่นนี้ว่ารุ่น”เมตตามหาบารมี” โดยถือฤกษ์”วันมหาสงกรานต์”
ให้เป็นพระเนื้อผงที่เป็นที่สุดของพระยุคปีพ.ศ.2558 โดยพาคณะไปทำพิธีบวงสรวง(ขอเบิกฤกษ์)บริเวณสระน้ำมีความลึกราว2เมตรเศษ
ซึ่งแต่เดิมเป็นที่เก็บมวลสาร ปัจจุบันเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์โดยนำเอาน้ำในสระมาเป็นส่วนผสมด้วย
และได้เริ่มพิธีกดพิมพ์เบิกฤกษ์พระเนื้อผงรุ่นนี้ภายในพระอุโบสถวัดศรีจันต์ ในเวลาต่อมา
โดยวัตถุมงคลรุ่นนี้จะนำแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์วันไหว้บูชาครูประจำปีของสำนักสักยันต์เพื่อความเป็นสิริมงคลในวันที่1พ.ค.58ที่จะถึงนี้
อ.เขียวกล่าวทิ้งท้าย
ผงปถมังคือผงพุทธคุณอันถือเป็นที่สุดแห่งมวลสารในสยาม
ที่ต้องฝึกฝนสมาธิจิตให้นิ่งในนิ่ง
ความพากเพียรพยายามที่จะต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจกว่าจะได้มาซึ่งผงปถมัง,
คัมภีร์ปถมังแต่เดิมมีอยู่หลายตำรับ แต่ละตำรับอาจมีวิธีการทำแตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน
โดยหลักแล้วคือเริ่มที่ทำตัวนะ เมื่อสำเร็จเป็นนะพินทุแล้วก็อาจแยกออกไปหลายแบบ
เป็นคัมภีร์ปถมังภาณวาร ปถมังองควิฏฐาร หรือตำรับอื่น ๆ
ที่มีวิธีการต่างกันไปอีกก็เป็นได้ อย่างไรก็ดีผงพุทธคุณทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากหมดซึ่งความตั้งมั่น-อุตสาหะและอดทน
”ปถมัง”เป็นความเชื่อโบราณของไทยซึ่งปัจจุบันหาผู้ทึ่สืบทอดความรู้ในวิชานี้ มีไม่มากนัก